music player

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


      ทุกวันนี้มีคนต่างก็ติดต่อสื่อสารกันอย่างสะดวกสะบายมากขึ้น โดยการใช้อุปกรณ์อย่าง
คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีมากขึ้น
      เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ  คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก  คือ  เครือข่ายการสื่อสารโทร
คมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป  โดยมีสายเคเบิลหรือสื่อไร้สายเป็นตัวเชื่อมต่อ
 
 

สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
  1. สื่อกลางแบบใช้สาย



  1.1 สายคู่บิดเกลียว(Twisted Pair Cable)  เป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย สายนำสัญญาณ
แต่ละคู่สายเป็นสายทองแดงที่ถูกพันบิดเป็นเกลียว สายคู่บิดเกลียวมี 2 ชนิด คือ สายยูทีพี
(Unshielded Twisted Pair) และ สายเอสทีพี (Shielded Twisted Pair)


ขอบคุณภาพจาก: http://www.oknation.net/blog/Siraprapa/2010/08/30/entry-3

 
  1.2 สายโคแอคเชียล สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลาง
อีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวนพลาสติก กั้นสายโคแอคเชียล
แบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลหว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
ใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบเคเบิลทีวี
 
 


ขอบคุณภาพจาก: http://www.oknation.net/blog/Siraprapa/2010/08/30/entry-3
  1.3  ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ คล้าย
เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง
ไม่มีการสูญเสียของข้อมูลระหว่างการส่งข้อมูล ไม่ถูกรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 
 
 2.  สื่อกลางแบบไร้สาย
   - อินฟราเรด ใช้สื่อสารในระยะสั้นๆ มักใช้กับการสื่อสารที่ไม่มีตัวกีดขวางระหว่างตัวส่งและ
      ตัวรับสัญญาณ
   - ไมโครเวฟ เป็นสื่อกลางที่มีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล ใช้เครื่องส่งและ
      เครื่องรับสัญญาณจากสถานีบนพื่นผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ
      เดินทางเป็นเส้นตรง จึงไม่สามารถเคล่อนที่ตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องตั้งสถานีเป็นระยะๆ
   - คลื่นวิทยุ เป็นสื่อกลางที่สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งระยะใกล้และระยะไกล มีตัวกระจายสัญญาณ
     ไปยังตัวรับสัญญาณ ใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆกันในการส่งข้อมูล
   - ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดในการส่งสัญญาณแบบไมโครเวฟ
      บนพื้นผิวโลก เป็นส่งสัญญาณไมโครเวฟในอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีรับ
      ภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณไปยังดาวเทียม


ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  1. เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network : PAN)
  2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ แลน (Local Area Network : LAN)
  3. เครือข่ายนครหลวง หรือ แมน (Metropolitan Area Network : MAN)
  4. เครือข่ายขนาดใหญ่ หรือ แวน (Wide Area Network : WAN) 

ขอบคุณภาพจาก: http://www.thaigoodview.com/node/90978
 
 
รูปร่างเครือข่าย
ขอบคุณภาพจาก: http://mmjaneyk.blogspot.com/
 
 
  1.เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology) เป็นรูปแบบบที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน สถานีทุกสถานีในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักเพียงสายเดียวที่เรียกว่า บัส การจัดส่งข้อมูลต้องส่งโดยไม่ให้ทุกสถานีส่งพร้อมกัน ไม่งั้นจะเกิดการชนกันของข้อมูล เครือข่ายแบบนี้จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากถ้ามีตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย ทั้งระบบจะไม่สามารถใช้ได้
 
 




 
 
   2.เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่อแต่ละสถานีแบบวงแหวน สัญญาณข้อมูลจะส่งไปในทิศทางเดียวจนกว่าจะถึงผู้รับ ข้อดีคือสามารถรับสถานีได้เป็นจำนวนมาก ข้อเสียคือ สถานีจะต้องรอจนกว่าจะถึงรอบของตนเองในการส่งข้อมูล


 
 
 
  3.เครือข่ายแบบดาว (Star Topology) เป็นการเชื่อมต่อทุกสถานีโดยต่อเข้ากับหน่วยสลับสายกลาง เช่น ฮับ หรือสวิตช์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อระหว่างทุกสถานี ข้อดี คือ หากมีสถานีใดเสีย หรือสายเชื่อมต่อชำรุด ก็จะไม่กระทบการเชื่อมต่อของสถานีอื่น จึงเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
ขอบคุณภาพจาก: http://www.thaigoodview.com/node/33125?page=0,2
 
 
  4. เครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology) เป็นเครือข่ายที่ผสมกันระหว่างแบบบัส แบบดาว และแบบวงแหวน  เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้ 
 

ขอบคุณภาพจาก: http://www.oknation.net/blog/Siraprapa/2010/08/30/entry-3
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.oknation.net/blog/Siraprapa/2010/08/30/entry-3
 
  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น